ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่ว ไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลีนุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์
ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทสในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน
ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะระบบปฏิบัติการ windows

ระบบปฏิบัติการ Windows
ความเป็นมา
วินโดวส์ที่ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ในรุ่นแรก ๆ นั้นจะใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม และไอบีเอ็มคอมแพททิเบิลที่มีซีพียู เบอร์ 80286 80386 และ 80486และในปี 1990 ไมโครซอฟต์ได้ออกวินโดวส์เวอร์ชัน 3.0 ออกมา เพื่อทำการโปรโมท ไม่ให้ผู้ใช้หันไปนิยมแมคอินทอชโอ เอสแทนดอส แต่ถึงแม้ว่าวินโดวส์จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอสแต่ในเวอร์ชันแรก ๆ การใช้งานก็ยังไม่ง่ายเท่าของแมคโอเอส และนอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ก็ยังทำได้ยาก
วินโดวส์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากวินโดวส์เวอร์ชัน 3 มา เป็น 4.0 วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98 วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98 ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการ อย่างแท้จริง เนื่องจากมันไม่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของดอส การติดตั้งจะแยกออกจากดอสอย่างเด็ดขาดไม่จำเป็นต้องติดตั้งดอสก่อน นอกจากความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานแล้ว วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังรวมซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้ สามารถติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและยังเอื้ออำนวยความสะดวก ในการโอนถ่ายซอฟต์แวร์หรือที่ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) โปรแกรมเป็น อย่างมาก นอกจากนี้ วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังมีความสามารถทางด้าน Plug–and-Play ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ซีดีรอมไดรฟ์ ซาวน์การ์ด โมเด็ม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฯลฯ ที่สนับสนุน Plug-and-Play มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง และเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 หรือ 98 จะทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักอุปกรณ์ เหล่านี้เอง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม
ในปัจจุบัน ตลาดพีซีเกือบทั้งหมดถูกครองครองโดยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ รวมทั้งมีการผลิตซอฟต์แวร์ที่รันอยู่บนระบบปฏิบัติการประเภทนี้ออกมาสู่ตลาด อย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่นิยมใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์

ระบบปฏิบัติการวินโดว์ที่น่าสนใจมีดังนี้
– Windows 95, 98

  

เป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง สร้างขึ้นมาเพื่อแทน DOS และ Windows 3.1
โดย เลข 95 บอกถึงปีที่ออกจำหน่าย (ค.ศ. 1995) ส่วน Windows 98 ออก จำหน่าย ค.ศ. 1998 เป็นเพียงการปรับปรุง Windows 95 ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการใหม่

– Windows NT
พัฒนาขึ้นมาต่างหาก คือไม่ได้ใช้ Windows 95 เป็นฐาน เป็นระบบปฏิบัติการคนละอย่างกับ Windows 95 ถึงแม้จะมีหน้าตาเหมือนกัน มีวิธีใช้อย่างเดียวกัน คำว่า NT ย่อมาจาก New Technology เมื่อบริษัทไมโครซอฟท์คิด สร้าง OS ตระกูลนี้ขึ้นมา ก็เพราะต้องการจะแยกระหว่าง OS ที่ใช้ในสำนักงาน ซึ่งโยงกันเป็นเครือข่ายประเภทที่มีแม่ข่าย กับ OS ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่ ใช้ตามบ้าน ซึ่งไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ LAN
ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ใน ระบบเครือข่ายในวงการธุรกิจ Windows NTแบ่งเป็น Windows NT Server ใช้ ในเครื่องที่เป็นแม่ข่าย และ Windows NT Client ใช้ในเครื่องที่เป็นลูก ข่าย เราสามารถใช้ Windows NT Client เดี่ยว ๆ แทน Windows 95/98 ก็ได้แต่เนื่องจากต้องการทรัพยากรของเครื่องมากกว่า จึงอาจจะไม่เหมาะสม

-Windows 2000

เป็นการสืบเชื้อสายจาก Windows NT ไม่ใช่ จาก Windows 95/98 ก่อนที่จะมีรุ่นนี้ Windows NT พัฒนามาถึง Windows NT 4 แต่แทนที่จะเรียกรุ่นต่อไปว่า Windows NT 5 กลับเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 2000 ใช้ปี ค.ศ. ที่ออกจำหน่ายเป็นชื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่า สืบเชื้อสายจาก Windows 95/98 ซึ่ง Windows 2000 ที่ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย ใช้ชื่อว่า Windows 2000 Professional ไม่ใช่ Windows 2000 Client
– Windows Millennium

เป็นชื่อที่ชวนให้สับสนมากที่สุด เนื่องจากคำว่า Millennium บอก ถึงสหัสวรรษใหม่ คนจำนวนมากจึงคิดว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของ Windows 2000 (ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มักเข้าใจ ผิดกันว่าปี 2000 คือปีแรกของสหัสวรรษใหม่) แต่ที่จริง Windows Millennium คือวินโดวส์ตระกูล Windows 95/98 รุ่นสุดท้าย หลังจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์เลิกพัฒนาวินโดวส์ตระกูลนี้

– Windows XP
      

 

 

 

 

 

เป็นวินโดวส์ สายพันธุ์ Windows NT แต่เพิ่มฉบับที่สำหรับให้ใช้ตามบ้านได้ด้วย เรียกว่า Windows XP Home Edition ซึ่งมาใช้ แทนสายพันธุ์ Windows 95 ซึ่งมีด้วยกัน 3 รุ่นด้วยกันคือ
1. Home Edition – สำหรับ การใช้งานตามบ้านทั่วๆ ไป
2. Professional Edition – เพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการจัดการ บริหารข้อมูลและการจัด User
และมีด้านระบบการรักษาความปลอดภัย (Security) มากขึ้น
3. 64 bit Edition – ออกมาเพื่อ สนับสนุนกับงานด้านการคำนวณที่ต้องการความละเอียดของทศนิยมมากๆ
โดยเฉพาะ ซึ่ง สนับสนุนกับการใช้งานในอนาคต

– Windows Vista

Windows Vista หรือชื่อใน การพัฒนาว่า Windows longhorn นั้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของ Windows ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง นอกจาก core จะเป็น Windows NT 6.0 แล้ว สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการแสดงผลแบบ 3D ของ Window นั่นเอง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่ง นอกจาก Interface ที่เปลี่ยนครั้งใหญ่แล้ว สิ่งที่ Microsoft มุ่งเน้นมากคือความปลอดภัย โดยการประกาศท้าทายเหล่า Hacker ให้เจาะระบบของ Windows vista กันเลยทีเดียว นอกจากนั้นยังมีการจ้าง Hacker มาตรวจสอบ source code ทั้งหมดของ Windows vista เพื่อหาช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ นอกจากนั้นWindows Vista ยังมากับไฟล์รับรูปแบบใหม่ คือ WinFS [Windows Future storage]
ที่จะเข้ามาแทน NTFS โดย Windows Vista นี้จะมีทั้งแบบ 32 bit และ 64 bit และมีมากถึง 5 รุ่นด้วย
1. Windows Vista Home Basic – เหมาะสำหรับ พ่อแม่ที่ซื้อ Computer
เครื่องแรกให้เด็กเล่นไปจนถึงคนทั่วไปที่ไม่เคยใช้ Windows มาก่อน
2. Windows Vista Home Premium – เหมาะกับเครื่องที่เน้น ทำเป็น Media Center ที่บ้าน
3. Windows Vista Business – เหมาะกับกลุ่ม power user ทั่วๆไป หรือเปรียบได้กับ Windows XP Pro นั่นเอง
4. Windows Vista Enterprise – เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่
5. Windows Vista Ultimate – เหมาะกับคนที่ต้องการทุกๆ อย่างจากทุกๆตัวที่กล่าวมา

ในปัจจุบัน มีวินโดว์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ และใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นคือ windows 7 และขณะนี้ทาง Microsoft ได้ให้เปิดทดลองใช้ windows8 แล้ว
      

Posted on กุมภาพันธ์ 25, 2012, in Uncategorized. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น